Hypoglycemia vs Hyperglycemia

คนที่เป็นเบาหวานทุกคนจะต้องเคยพบกับภาวะที่เรียกว่า ไฮโป หรือ น้ำตาลต่ำ (Hypoglycemia) และ ไฮเปอ หรือ น้ำตาลสูง (Hyperglycemia)  อย่างแน่นอน แต่รู้กันไหมว่าภาวะไหนอันตรายกว่ากัน?

Hypoglycemia คือ ภาวะของน้ำตาลในเลือดต่ำ (ต่ำกว่า 70 mg/dl) สาเหตุเกิดได้จาก

1. กินยา หรือ ฉีดยามากกว่าปกติ อาจจะด้วยเหตุผลของการลืม เลยกินยาหรือฉีดยาซ้ำ (อ่ะนะ คนเราก็ต้องมีลืมกันบ้าง แต่เมื่อก่อนนี้ลักใช้วิธีฉีดซ้ำไปเลย ไฮโปยับเยิน เดี๋ยวนี้ใช้วิธี รอประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วดูผลเลือดว่าลืมฉีดยาไปจริงหรือเปล่า)

2. กินยา หรือ ฉีดยาแล้วไม่กินข้าวตรงตามเวลา ยาจะออกฤทธิ์ตรงตามเวลาเผง ถ้าเราไม่กินข้าว ย่อมเกิดภาวะน้ำตาลต่ำอย่างแน่นอน

3. ปริมาณอาหาร (ประเภทคาร์โบไฮเดรต)ที่กิน น้อยกว่าปริมาณยาที่ได้รับ (ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม สามารถให้นักโภชนาการคำนวณให้ได้) หรือกินน้อยเกินไปนั่นเอง

4. ดื่มแอลกอฮอลล์ แอลกอฮอลล์บางชนิดกินแล้วมีผลทำให้ระดับน้ำตาลต่ำ (ส่วนจะเป็นชนิดไหน ไปถามคุณหมอเอาเอง แต่ถ้าจะให้ดี ไม่กินดีกว่า เพราะแอลกอฮอลล์มีฤทธิ์ทำให้เราขาดสติ)

5. ออกกำลังกายมากกว่าปกติ หรือ นานกว่าปกติ

เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ร่างกายจะมีสัญญาณเตือนเป็นอาการต่างๆ เช่น หิว มือสั่น ใจสั่น(ลั่นตุ้บๆ แทบทะลุออกจากอก) เหงื่อออก ตัวเย็น มีนงง สับสน คิดอะไรไม่ออก ถ้านอนหลับอยู่ก็จะฝันร้าย รู้สึกหงุดหงิดนอนไม่ได้ และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก็จะถึงขั้นเป็นลม หมดสติ และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องทันการณ์

Hyperglycemia คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (สูงกว่า 200 mg/dl) สาเหตุเกิดได้จาก

1. กินยา หรือ ฉีดยาน้อยกว่าปกติ (นึกเอาเองว่าค่าน้ำตาลที่ไปหาหมอมาดีแล้ว เลยลดยาเอง หรือ ไม่อยากกินยาเพราะมีความเชื่อว่ายาเบาหวานส่งผลเสียต่อตับ ต่อไตเลยงดยาเอง)

2. กินข้าว แต่ไม่กินยา หรือ ฉีดยาตามเวลา โรคเบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถทำหน้าที่ผลิตอินสุลินได้ตามปกติ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยา หรือ อินสุลินช่วยทำหน้าที่ แต่ถ้าเราไม่กินยา หรือ ฉีดอินสุลิน ย่อมทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม

มาเรียนรู้ดูแลเบาหวานของตัวเองกันเถอะ

หลังจากมีประสบการณ์ในการเป็นเบาหวานด้วยตัวเอง และจากการต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เป็นเบาหวาน ทำให้ตอบได้ว่า การควบคุมดูแลโรคเบาหวานนั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก

ถ้าจะเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนกับการปรุงบะหมี่สำเร็จรูปที่สามารถปรุงเสร็จได้ภายใน 3 นาที แต่ในความเป็นจริงเราก็ต้องใช้เวลาในการต้มน้ำให้เดือดก่อน ทุกเรื่องล้วนต้องใช้เวลา การเรียนรู้ การฝึกฝน จะืทำให้เป็นเรื่องง่ายในที่สุด

การจะดูแลเบาหวานให้ได้ดีนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องความรู้ และ การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

มาดูกันว่า คุณสมบัติของคนที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ มีอะไรบ้าง (เป็นโรคเบาหวานไม่ได้เป็นกันง่ายๆ นะคะ ต้องมีคุณสมบัติด้วย)

1. กินให้มากเกินความต้องการใช้พลังงานของร่างกาย, มีข้ออ้างเสมอว่าไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย, ไม่มีความยับยั้งชั่งใจในการกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง) และอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล โซเดียมและไขมัน  กินจนกระทั่งอวัยวะที่เรียกว่า ตับอ่อนต้องทำงานหนัก จนไม่สามารถผลิตอินสุลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินสุลิน (ผลิตได้แต่นำไปใช้ไม่ได้) ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เราไปตรวจร่างกาย (หรือร่างกายเกิดภาวะผิดปกติจนเราต้องไปพบหมอ) ก็จะพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินกว่าเกณฑ์ปกติ จนคุณหมอต้องแจ้งว่า คุณมีคุณสมบัิติครบที่จะเป็นสมาชิกของโรคเบาหวานแล้ว

(ถ้าเพียงเรารู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักกินอาหารในปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย รู้จักชวนตัวเองเคลื่อนไหว ขยับออกกำลัง โรคเบาหวานก็ไม่สามารถมาทำให้ใครเป็นสมาชิกได้)

2. เป็นโรคเบาหวานเองโดยไม่ต้องทำอะไร เพราะอวัยวะที่เรียกว่าตับอ่อนนั้น เกิดอาการผิดปกติไม่สามารถผลิตอินสุลินได้เลย (เรียกว่าเกิดมาแล้วแก่เลย ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เลย)  ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติของร่างกายเราจัดสรร ทำให้เราต้องเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 คือ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินสุลินจากภายนอก (ต้องฉีดอินสุลินทุกวัน) ซึ่งเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับเด็กหรือคนที่มีอายุน้อย จึงมักจะเรียกว่าเบาหวานในเด็ก

ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากสำหรับตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ ทั้งในแง่จิตใจและการปฏิบัติตัวในการดูแลโรคเบาหวาน แต่ถ้ามองตามความเป็นจริงก็ต้องยอมรับว่าเราโชคดีที่ได้เกิดมาในยุคที่มีการค้นพบอินสุลินแล้ว และวิวัฒนาการของอินสุลินในปัจจุบัน มีการเลียนแบบการทำงานได้ใกล้เคียงกับที่ร่างกายผลิตแล้วด้วย (อินสุลินปั๊ม)

สังเกตไหมคะว่า เบาหวานประเภทที่ 1 หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นเรื่องความผิดปกติของตับอ่อนของเราเอง แต่เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นเรื่องของพฤติกรรม หลีกเลี่ยงและป้องกันได้

ลักเชื่อว่า คงไม่มีใครอยากจะเป็นโรคเบาหวานหรอก (โรคอะไรก็ไม่อยากเป็น) แต่ในเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ก็อย่าท้อถอนหรือยอมแพ้โรค เราต้องเปิดใจหาความรู้ และเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความรู้ีที่ได้มาจะช่วยทำให้ทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน (ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ) สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้ โดยไม่มีโรคแทรกซ้อน

เหตุผลสำคัญที่อยากชักชวนให้ทุกคนหันมาใส่ใจดูแลโรคเบาหวาน ก็เพราะว่าไม่อยากเห็นใครต้องทุกข์ทรมานจากโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน การเป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมดูแลได้ เราก็จะเป็นแค่โรคเบาหวานเท่านั้น แต่ถ้าไม่ดูแลก็จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ ปลายประสาทขึ้น ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ จะนำความทุกข์ ทรมานทั้งทางกาย และใจมาให้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังทำให้สิ้นเปลืองเงินเป็นจำนวนมากมายมหาศาลอีกด้วย

ถ้ามีใครไม่เชื่อว่าโรคแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นกับตา ไต หัวใจ และปลายประสาทได้จริง และต้องการพิสูจน์ด้วยการเอาชีวิตของตัวเองเป็นเครื่องทดลอง มีคำเตือนอยู่เรื่องเดียวที่อยากบอกไว้ก็คือ  หากเกิดการเสื่อม หรือ ความสูญเสียใดๆ ต่ออวัยวะของเราแล้ว เราจะสูญเสียอวัยวะนั้นไปตลอดกาล!!! อ่านเพิ่มเติม

วิธีดูแลระดับน้ำตาลของคนที่เป็นโรคเบาหวาน

การจะดูแลเบาหวานให้ดี มีวิธีเดียวค่ะ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุดค่ะ

(เกณฑ์คนปกติ ระัดับน้ำตาลก่อนอาหาร ไม่เกิน 100 mg/dl, ระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 140 mg/dl, A1C 4-6%)

แล้้วทำยังไงถึงจะควบคุมระดับน้ำตาลได้? …วิธีง่ายๆ ที่ลักใช้ ก็คือ วิธีเจาะ จด และปรับค่ะ ^^

เจาะคือ เจาะเลือดก่อนกินอาหาร และ หลังอาหาร 2 ชม. และก่อนนอน (ก่อนอาหาร 3 หลังอาหาร 3 ก่อนนอน 1) อย่างน้อยก็เจาะเลือดวันละ 7 ครั้ง ถ้าวันไหนเป็นวันพิเศษ (กินอาหารในปริมาณมากกว่าที่กินเป็นประจำ หรือ ไปออกกำลังกาย) ก็จะเจาะเพิ่มมากขึ้น อาจจะเกินวันละ 10 ครั้งก็ได้

จด คือ จดบันทึกทุกอย่าง จดผลเลือดทุกครั้งที่เจาะ จดจำนวนยูนิตของอินสุลินที่ฉีด จดอาหารทุกชนิดที่กินและปริมาณที่กิน รวมถึงจดเรื่องการออกกำลังกายด้วย

ปรับ คือ การปรับเพิ่มลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับผลเลือดที่ได้ เพื่อให้ระดับน้ำตาลหลังอาหารอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ^_^

อ่านเพิ่มเติม